วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554


เครือข่ายคอมพิวเตอร์
 "เครือข่าย" เเละเป็นที่ทราบกันเเล้วว่าระบบโทรศัพท์เป็นเครือข่ายสื่อสารอีกชนิดหนึ่ง คอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่นำมาต่อเชื่อมกันสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกันได้เป็นเครือข่ายสื่อสารกันได้เป็นเครือข่ายอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์มีบทบาทในฐานะเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ เมื่อผนวกกับความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูุลอย่างเป็นระบบ 

เครือข่ายประเภทต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บเเละแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยตรง ดังนี้

1. อินทราเน็ต
อินทราเน็ต(Intranet) คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกันอินเทอร์เน็ต แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น เช่น อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง หรือระบบเครือข่ายมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศ เป็นต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเปิดบริการคล้ายกับอินเทอร์เน็ตเกือบทุกอย่าง แต่ยอมให้เข้าถึงได้เฉพาะคนในองค์กรเท่านั้น เป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งาน ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในองค์กร ก็คือ "อินทราเน็ต" นั่นเอง แต่ในช่วงที่ชื่อนี้ยังไม่เป็นที่นิยม ระบบอินทราเน็ต ถูกเรียกในหลายชื่อ เช่น Campus network, Local internet, Enterprise network เป็นต้น 

2. เอกซ์ทราเน็ต
    เอกซ์ทราเน็ต(คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร (INTRANET)เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรง ระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน ระหว่างระบบเครือข่าย Intranet จำนวนหลายๆเครือข่ายผ่านInternetก็ได้
    ระบบเครือข่ายแบบเอ็กซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กร หรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่าย
เอ็กซ์ทราเน็ต อาจถูกแบ่งเป็นประเภทๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่วๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รบสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป
   ก่อนนี้บริษัทต่างๆ ที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของตนเอง ต่างพยายามหาซอฟต์แวร์มาช่วยในการทำงาน และส่วนใหญ่จะใช้ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นมาเฉพาะกิจ ซึ่งต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่าย ค่อนข้างมาก ที่สำคัญก็คือไม่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน การปรับเปลี่ยนให้เข้ากับลักษณะงานที่เปลี่ยนไปจึงทำได้ยาก และมีปัญหาในการเชื่อมโยงของข้อมูลข่าวสารกับบริษัทอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นบริษัทที่ใช้ระบบเครือข่ายซอฟต์แวร์ต่างกัน แต่ถ้าเครือข่ายและซอฟต์แวร์สำหรับการติดต่อสื่อสารทั้งที่ใช้ภายในองค์กรและการติดต่อระหว่างองค์กรต่างก็เป็นเทคโนโลยีของระบบอินเตอร์เน็ตทั้งหมด การถ่ายเทหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารจึงทำได้ง่ายขึ้น 


3. อินเทอร์เน็ต
   อินเทอร์เน็ตคือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลกโดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลก
แหล่งข้อมูลการสืบค้น
โปรเเกรมค้นหาที่ใช้กันมาก เพราะมีความสามารถสูงนั้น ีอยู่ตาสเว็บไซต์ต่อไปนี้
http://www.google.com
http://www.altavista.com
http://www.excite.com
http://www.yahoo.com
    
 สำหรับโปรเเกรมภาษาไทยนั้นเริ่มมีใช้บางส่วนเเล้ว เเต่ประสิทธิภาพยังไม่สูงนัก เนื่องจากความลำบากในการแยกคำในภาษาไทย ซึงเขียนต่อกันโดยไม่มีการเว้นวรรค เป็นคำ ๆ เเบบภาษาอังกฤษ และอีกประการหนึ่ง เนื่อกจากข้อมูลทางภาษาไทยบนเว็บไซต์ยังมีจำนวนน้อย เซิร์จเอ็นจิน ภาษาไทยมีอยู่ในเว็บไซต์ต่อไปนี้
http://www.google.co.th
http://www.siamguru.com
http://hotsearch.co.th

วิธีการสืบค้นข้อมูลด้วย Google









Digital libery

ป็นห้องสมุดที่มีการจัดการและให้บริการเนื้อหาของข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาเอกสารเต็มรูป (Full-text)ได้โดยตรง มีการสร้างหรือจัดหาข้อมูลดิจิทัลมาจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบเพื่อความสะดวกในการสืบค้นและให้บริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีเป้าหมายเพื่อให้บริการข้อมูลเช่นเดียวกับห้องสมุดแบบดั้งเดิม ซึ่งข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลมีหลากหลายรูปแบบได้แก่
ข้อมูลที่แปลงมาจากข้อมูลในหนังสือพิมพ์
ข้อมูลที่สร้างขึ้นใหม่ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล
ข้อมูลจากซีดีรอม
ข้อมูลในวารสารอิเล็คทรอนิกส์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์     
    ความหมายในทางเทคโนโลยีของทรัพยากรที่อยู่ในห้องสมุดแบบดั้งเดิมคือสิ่งพิมพ์หรือสื่อที่เป็นวัสดุเรียกว่า Physical objects ส่วนทรัพยากร (Item) ในห้องสมุดดิจิตอล เรียกว่า Digital objects ซึ่งจัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หลักที่เรียกว่าServer ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ใน Digital objects คือเนื้อหาเรียกว่า Contents ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลหรือ Data ในหลาย itemsและข้อมูลอธิบายรายละเอียดของข้อมูล หรือ Data นั้นๆ เรียกว่า Metadata  ซึ่งการจัดหมวดหมู่ข้อมูลให้เป็นระบบในลักษณะ Metadata นั้นก็เพื่อความสะดวกในการค้นหาและเพื่อให้การจัดการข้อมูลดิจิทัลมีมาตรฐานในการใช้ข้อมูลดิจิตัลร่วมกัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล



แหล่งข้อมูลของประเทศไทยบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  • เว็บไซต์ประเภท Poryal หรือ Gateway หรือชุมทาง เช่น
          http://www.nectec.or.th
  • เว็บไซต์ประเภทของการศึกษา เช่น
         http://www.school.net.th

         http://www.learn.in.th

  • เว็บไซต์ประเภทศิลปวัฒนธรรม เช่น
         http://www.culture.go.th
  • เว็บไซต์ประเภทท้องถิ่น  เช่น
         http://www.thaitambon.com
  • เว็บไซต์ประเภทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เช่น
         http://www.nstda.or.th

         http://www.nectec.or.th

         http://www.mtecor.th

         http://www.biotec.or.th
  • เว็บไซต์ประเภทพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์
         http://www.ecommerce.or.th

         http://www.moc.go.th

         http://www.depthai.gp.th

         http://www.thaitradepoint.com